วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่

  ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่
   ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่ ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

ประวัติวันปีใหม่ การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
ประวัติวันปีใหม่ เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก Happy News year
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

เทศกาลวันปีใหม่ กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
 
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
         ปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เทศกาลวันปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
.........................................................................................................
ปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ทุกคนทั่วทุกมุมโลกต่างรู้กันดีว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่จะมีกี่คนที่จะรู้ว่า "กว่าจะกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกันทั่วโลกนั้นมีประวัติศาสาตร์อันยาวนาน" ทั้งนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
" ปี" ไว้ว่า "เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน  หรือ เวลา ๑๒ เดือนตามสุริยคติ"
ปฏิทิน ปีใหม่
 นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี บอกว่า แทบไม่น่าเชื่อว่าบรรพชนในอดีต ที่วันๆสาละวนอยู่กับการหาอยู่หากินตามธรรมชาติ อาวุธประจำกายที่วิเศษสุดก็คือขวานหินอันเดียว สามารถสร้างปฏิทินจากดวงดาวอันไกลโพ้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีท่านเหล่านั้นรู้จักปฏิทินก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร พวกเขาใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการกำหนดช่วงเวลา โดยอ้างอิงกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้าได้แก่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และแม้กระทั่งดาวฤกษ์ ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เรียงตัวกันเป็นสัญลักษณ์ เช่น กองหินลึกลับ สโตนจ์เฮ้นจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ
 เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนแห่งลุ่มน้ำ ไตรกีสและยูเฟรตีส ที่รู้จักกันดีในชื่อว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ปัจจุบันอยู่ในประเทศอีรัก ได้สร้างปฏิทินขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลกที่เมือง นิปปู (Nippur) เมื่อ ๓,๗๖๐ ปี ก่อนคริสตกาล พวกเขาแบ่งช่วงเวลา ๑ ปี ออกเป็น ๑๒ เดือน และให้เริ่มปีใหม่ในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ
  ครั้นอารยธรรมอียิปต์ฉายแสงขึ้นมาก็สร้างปฏิทินโดยถ่ายทอดข้อมูลไปจากชาวสุเมเรี่ยน ถึงคิวของอาณาจักรโรมันผงาดขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ ๗๕๓ ปี ก่อนคริสตกาล ก็สร้างปฏิทินโดยนับเริ่มต้นจากปีที่สร้างกรุงโรม ภาษาลาตินใช้คำว่า ab urbe condita (A.U.C.) ปฏิทินโรมันเป็นจันทรคติคือใช้ดวงจันทร์เป็นตัวอ้างอิง ให้ปีหนึ่งมี ๑๐ เดือน หรือ ๓๐๔ วัน และให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นปีใหม่
 เดือนมกราคม มาจากชื่อของเทพ เจนัส ซึ่งชาวโรมันเชื่อว่าเป็นเทพแห่งการเริ่มต้นใหม่ของโลก เพราะในฤดูหนาว ดวงอาทิตย์ต่ำลงเรื่อยๆทางทิศใต้ ขณะเดียวกันช่วงเวลากลางวันก็สั้นลงจนกลัวว่าโลกจะดับมืดในไม่ช้า แต่พอเวลาผ่านไปไม่กี่วันดวงอาทิตย์ก็หวนกลับคืนมาทางทิศเหนืออีกครั้ง ด้วยการช่วยเหลือจากเทพเจนัส ดังนั้นเดือนที่ดวงอาทิตย์เริ่มกลับคืนมาใหม่จึงเรียกว่า เดือนแห่งเทพเจนัส หรือ January
 ปฏิทินโรมันมีการปรับเพิ่มเป็น ๓๕๕ วัน และมีเดือนบวกพิเศษอีก ๑ เดือน ทุกๆปีเว้นปี อย่างไรก็ตามก็ยังคลาดเคลื่อนจากรอบปีตามสุริยะคติ ประมาณ ๕ วัน ในรอบทุกๆ ๔ ปี เมื่อสะสมนานนับร้อยปีก็เป็นเหตุให้วันสำคัญไม่ตรงกับฤดูกาลที่กำหนด
 ชาวโรมันเริ่มหงุดหงิดกับปฏิทินของพวกเขาแต่ยังไม่มีใครอาจหาญลุกขึ้นมาแก้ไข จวบจนถึงสมัยของจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส ซีซ่า (Julius Caesar) เมื่อ ๔๘ ปี ก่อนคริสตกาล ท่านซีซ่าร์จึงที่ปรึกษาชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส  แห่งเมืองอเลกซานเดรีย  มารับมอบหน้าที่ปรับแก้ปฏิทินโรมันเสียใหม่ให้สอดคล้องกับฤดูกาล
 ในที่สุด โซซิเจเนส ส่งการบ้านอันยอดเยี่ยมให้ท่านซีซ่าร์ ในอีก ๒ ปี ต่อมา ( ๔๖ ปี ก่อนคริสตกาล) เป็นปฏิทินสุริยะคติ ปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน และบวกพิเศษ อีก ๑ วัน ทุกๆ ๔ ปี เพราะคำนวณจากฐานว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เท่ากับ ๓๖๕.๒๕ วัน ในคราวเดียวกันนี้ท่านซีซ่าอยากจะเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดิมคือวันที่ ๑ มกราคม ไปเป็นวัน “วสันตวิษุวัต” (Vernal Equinox) ตามที่โซซิเจเนสแนะนำ แต่พวกวุฒิสมาชิกไม่ยอมเพราะปฏิทินโรมันถือว่า วันที่ ๑ มกราคม มีความหมายของเทพเจนัสอยู่แล้ว จึงยื่นไม้ตายจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและปลดท่านซีซ่าร์ออกจากตำแหน่ง
 แค่กรณีไปมีบ้านเล็กและเอาที่ปรึกษาอียิปส์มาทำปฏิทินก็แทบจะเหลือทนแล้ว นี่ได้คืบจะเอาศอกรับกันไม่ได้ ท่านซีซ่าร์จึงตัดสินใจใช้นโยบายแบบ Win-Win คือบ้านเล็กไม่เสียหน้า เก้าอี้จอมทัพก็ยังอยู่ วุฒิสภาก็รับได้ จึงให้ใช้ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่เหมือนเดิม
  ส่วนรายละเอียดอื่นๆเอาตามแบบอียิปส์ ปฏิทินฉบับนี้มีชื่อว่า “ปฏิทินจูเลี่ยน” ตามชื่อของท่าน “จูเลียส ซีซ่าร์” และมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศยุโรปมาจวบจนถึง ปี ค.ศ.1582 ก็ต้องสังคายนาอีกครั้งหนึ่งโดยสันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ 13 เพราะปฏิทินจูเลี่ยนสะสมความคลาดเคลื่อนแบบติดลบไว้ถึง 10 วัน ทำให้วันสำคัญทางศาสนาคาทอลิกคือ “วันอีสเตอร์” ซึ่งถือเป็นวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ผิดไปจากหลักดาราศาสตร์
 เนื่องจากวันอีสเตอร์ถูกกำหนดโดยสภาศาสนาแห่งเมืองนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 325 ให้ตรงกับวันอาทิตย์ถัดจากวันเพ็ญที่เกิดขึ้นหลังวันวสันตวิษุวัต และกำหนดให้ วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันวสันตวิษุวัต แต่ปฏิทินซีซ่าร์สะสมความคลาดเคลื่อนไว้มากจนเป็นเหตุให้วันที่ 21 มีนาคม แซงหน้าวันวสันตวิษุวัต ไป 10 วันเต็มๆ
 ปฏิทินใหม่ที่ประกาศใช้โดย สันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ 13 กำหนดให้วันรุ่งขึ้นของพฤหัสบดี ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 กลายเป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 1582 โดยยังยึด 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่เช่นเดิม และมีข้อกำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวมี 29 วัน เรียกว่า “อธิกสุรทิน” (Leap year) แต่ปีสุดท้ายของศตวรรษที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น 1900 และ 2100 คงให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วันเช่นเดิม
 "ปฏิทินเกรเกอเรี่ยน (Gregorian Calendar) กลายเป็นปฏิทินสากลของทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และทุกประเทศก็ถือว่า ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่ของมนุษยชาติ ต้องขอบคุณที่ท่านจอมทัพจูเลียส ซีซ่าร์ ยอมอ่อนข้อให้กับวุฒิสภาโรมันแบบ Win-Win ไม่งั้นเราคงไม่ได้ฉลองปีใหม่พร้อมๆกันทั่วโลก"นายสรรค์สนธิกล่าว
  เทศกาลวันปีใหม่ บุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่  ประวัติศาสตร์แห่งปีใหม่ไทย
 ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
 การกำหนดวันปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
 การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
บุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
 เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก และ4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่
 กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ คําอวยพรวันปีใหม่และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกว่า ปีก่อนๆที่ผ่านมา สวัสดีปีใหม่ Happy News year และหลังเทศกาลปีใหม่ผ่านไปไม่นานก็จะถึงเทศกาลของคนไทยเชื้อสายจีนคือวันตรุษจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น